ค้นหาบล็อกนี้

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ??

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

คำถามทบทวน บทที่ 7 สื่อการสอนประเภทกิจกรรม

ข้อที่ 1 สื่อกิจกรรมมีลักษณะอย่างไร
ตอบ สื่อการสอนประเภทกิจกรรม หมายถึง กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์หรือเรียนรู้เนื้อหาบทเรียนด้วยการดู การฟัง การสังเกต การสัมผัสจับต้องด้วยตนเอง รวมถึงการร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น การแสดงบทบาทในละคร การละเล่น เกมกีฬา การแข่งขันต่างๆ ตลอดจนการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ด้วยความเพลิดเพลิน บางกิจกรรมอาจใช้สื่อประเภทวัสดุหรืออุปกรณ์เข้ามาช่วยในการถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้เรียนรับรู้และเรียนรู้เนื้อหาสาระในกิจกรรมได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ข้อที่ 2 สื่อกิจกรรมมีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างไร
ตอบ คุณค่าของสื่อการสอนประเภทกิจกรรม
1. ช่วยรวมวัสดุอุปกรณ์หรือประสบการณ์ที่กระจัดกระจายไว้ในที่แห่งเดียวกัน
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและสามารถทำงานกลุ่มกับบุคคลอื่นได้
3. ช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้ร่วมกิจกรรมอื่นๆ
4. ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาให้เป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนจากการได้สัมผัสด้วยตนเอง
5. เป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างเพลิดเพลิน

ข้อที่ 3 การสาธิตมีความหมายและขั้นตอนอย่างไร
ตอบ กาสาธิตที่ดีควรมีขั้นตอนในการดำเนินงาน 3 ขั้น
1. ขั้นการเตรียม
1.1 กำหนดเป้าหมาย
1.2 จัดสถานที่
1.3 การสาธิตที่ดีและประสิทธิภาพ
1.4 การเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน
1.5 ทดลองซ้ำ
1.6 วางแผนหาวิธีกระตุ้น
1.7 เตรียมเอกสารประกอบการสาธิต
2. ขั้นการสาธิต
2.1 อธิบายลำดับให้ผู้เรียนเข้าใจ
2.2 ขณะอธิบายครูควรใช้แผนภูมิหรือรูปภาพประกอบเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
2.3 สร้างบรรยากาศให้เป็นกันเอง
2.4 กระตุ้นให้ผู้เรียนคิดและติดตาม
2.5 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม
2.6 สรุปเรื่องราวเป็นตอนๆ
3. ขั้นการประเมินผล
3.1 ประเมินการเรียนของผู้เรียน
3.2 ประเมินผลการสอนของครูผู้สาธิต

ข้อที่ 4 การจัดนิทรรศการมีความหมายและขั้นตอนอย่างไร
ตอบ “การจัดนิทรรศการ” หมายถึง การจัดแสดงสิ่งของ วัสดุ อุปกรณ์ที่มีความสัมพันธ์กนในแต่ละเรื่องเพื่อเร้าความสนใจให้ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมและเรียนรู้ด้วยการดู ฟัง สังเกต จับต้อง และทดลองภายใต้จุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายจุดมุ่งหมาย โดยการใช้สื่อหลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถจัดกิจกรรมอื่นๆประกอบเพื่อให้ผู้เรียนรู้และเรียนรู้ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ
1.ขั้นการวางแผน
- การตั้งวัตถุประสงค์
- การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
- การกำหนดเนื้อหา
- การกำหนดสถานที่
- การกำหนดเวลา
- การตั้งงบประมาณ
- การออกแบบนิทรรศการ
- จัดเตรียมอุปกรณ์
- การประชาสัมพันธ์
- การกำหนดหน้าที่รับผิดชอบ
2. ขั้นการจัดแสดง
เป็นขั้นการนำสิ่งขิงต่างๆมาติดตั้งให้ดูสวยงามตามแบบร่างที่ทำไว้ในขั้นการวางแผนหากมีการวางแผนที่ดีจะทำให้การดำเนินงานขั้นนี้เป็นไปอย่างสะดวก การจัดแสดงให้มีประสิทธิภาพ ควรปฏิบัติดังนี้
1. การจัดวางหรือการติดตั้งวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆตามที่วางแผนและออกแบบไว้
2. การติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ทุกชิ้นต้องมีความมั่นคง แข็งแรง ต้องระวังไม่ให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตรายระหว่างการนำเสนอ
3. การป้องกันอันตรายอย่างรอบคอบจากวัสดุอุปกรณ์ที่มีคม ควรวางให้ห่างจากการเดินผู้ชมไม่สามารถเอื้อมสัมผัสได้
4. ควรจัดวิทยากรให้คำปรึกษาแนะนำประจำกลุ่มเนื้อหา
5. ควรตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
6. การประชาสัมพันธ์
7. ควรให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
8. ขณะลงมือปฏิบัติอาจต้องแก้ปัญหาบ้างเพื่อให้เหมาะกับสถานการณ์จริง
3. ขั้นการประเมิน

ข้อที่ 5 ในการจัดนิทรรศการมีเกณฑ์มาตรฐานอย่างไร
ตอบ มาตรฐานในการจัดนิทรรศการ
1. ต้องตระหนักว่ากรจัดนิทรรศการนั้น เป็นการจัดให้ผู้ชมดูไม่ใช่จัดให้อ่าน ฉะนั้นจึงไม่ควรจัดให้มีตัวหนังสือมากเกินไป เพราะจะทำให้ผู้ชมเสียเวลา ต้องพยายามให้ผู้ชมเสียเวลาในการทำความเข้าใจน้อยที่สุด
2. ต้องดูว่าสถานที่ที่จะจัดนิทรรศการนั้นเหมาะสมหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของสถานที่นั้นๆ ไม่ควรจัดอยู่ในซอกมุมมากเกินไป หรือจัดในมุมที่มีสิ่งอื่นมาบัง จนทำให้มองไม่เห็น
3. จุดหนึ่งหรือบริเวณหนึ่งที่จัดให้คนดูจะต้องมีจุดมุ่งหมายเดียว ถ้ามีหลายความคิดจะต้องแบ่งส่วนให้ดีอย่าได้ปะปนกัน
4. ต้องทำสิ่งยากๆให้ดูง่าย ใช้เวลาในการทำความเข้าใจน้อยที่สุดอย่าทำให้เกิดความยุ่งเหยิงในการดูเป็นอันขาด
5. การใช้สีเป็นการกระตุ้นความรู้สึกของผู้ชมเป็นอย่างดี ฉะนั้นในการจัดนิทรรศการเราจะต้องศึกษาในเรื่องสีพอสมควร
6. ตัวหนังสือที่ใช้ในการจัดนิทรรศการจะต้องอ่านง่าย ไม่ใช่เขียนสวยแต่อ่านยาก หรืออ่านไม่ออก ตัวหนังสือควรจะเป็นแบบฟอร์มเดียวกัน
7. ในการจัดนิทรรศการถ้าเราใช้การเคลื่อนไหวต่างๆ มาประกอบด้วย จะสามารถเรียกร้องความสนใจได้มาก
8. ต้องคำนึงถึงเรื่องแสงสว่างเป็นสำคัญ ในการจัดนิทรรศการจะต้องมีแสงสว่างพอเพียงเพื่อให้ผู้ชมมองเห็นได้อย่างถนัดชัด

ข้อที่ 6 สื่อนาฏการมีลักษณะอย่างไร จงยกตัวอย่างสื่อนาฏการที่แสดงด้วยคนและสื่อนาฏการที่แสดงด้วยหุ่น อย่างละ 1 กิจกรรม
ตอบ “นาฏการ” หมายถึง การแสดงต่างๆ ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาเรื่องราวจากลีลาท่าทาง บทบาท ภาษาพูดของผู้แสดง สามารถกระตุ้นความสนใจและเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี สื่อนาฏการอาจนำเสนอด้วยสื่อของจริงหรือเสมือนของจริงก็ได้ สื่อนาฏการสามารถจัดลำดับการเสนอเป็นเรื่องราวให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกเสมือนว่าตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆด้วย
สื่อนาฏการที่แสดงด้วยคน” เป็นการแสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ อุปนิสัย และวัฒนธรรมของตัวละคร การแสดงละครเป็นสื่อที่จัดสภาพแวดล้อมได้ใกล้เคียงกับสถานการณ์จริงได้มากที่สุด ความสมจริงสมจังขึ้นอยู่กับความสามารถในการแสดงและการสร้างบรรยากาศ คณะผู้จัดทำและผู้แสดงต้องใช้เวลาในการฝึกซ้อมและเตรียมการค่อนข้างมาก ด้วยเหตุนี้การแสดงละครจึงไม่สามารถนำเสนอหรือจัดแสดงได้หลายครั้งตามต้องการ

ข้อที่ 7 ชุมชนเพื่อการศึกษาหมายถึงอะไร
ตอบ การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษา หมายถึง การใช้แหล่งวิชาการและสภาพแวดล้อมของชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ เพื่อขยายประสบการณ์ของผู้เรียนให้กว้างขวาง มีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น ถ้าได้นำแหล่งวิชาการในชุมชนมาใช้อย่างจริงจังจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้แก้ปัญหาในการดำรงชีวิตในโอกาสต่อไปได้อย่างดี

ข้อที่ 8 การใช้ชุมชนเพื่อการศึกษามีวิธีการอย่างไร
ตอบ 1. การศึกษาภายในบริเวณโรงเรียน เป็นการใช้แหล่งทรัพยากรนอกห้องเรียนที่ทำได้สะดวกที่สุด
2. การศึกษาในชุมชนใกล้โรงเรียน
3. การเชิญวิทยากรในท้องถิ่นมาบรรยาย เป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรจกสาขาอาชีพต่างๆได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์โดยตรงแก่ผู้เรียน
4. การไปทัศนศึกษานอกสถานที่ เป็นการพาผู้เรียนออกไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งชุมชน อื่นที่อยู่ห่างไกลจากโรงเรียนการจัดการเรียนการสอนแบนี้จะต้องปฎิบัติตามระเบียบกระทรวงเจ้าสังกัด


ข้อที่ 9 สถานการณ์จำลองหมายถึงอะไร มีวิธีการใช้เพื่อการเรียนรู้อย่างไร

ตอบ สถานการณ์จำลอง เป็นการจัดสภาพแวดล้อมเลียนแบบของจริงให้ใกล้เคียงสภาพความเป็นจริงให้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดแก้ปัญหาและตัดสินใจจากสภาพการณ์ ต่อไป การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลองจึงต้องจัดประสบการณ์และกิจกรรมในลักษณะของการสร้างสถานการณ์เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดและแก้ปัญหา ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนและยังเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน หรือผู้เรียนกับผู้เรียนให้มากขึ้นด้วย

ข้อที่ 10 การทัศนศึกษานอกสถานที่ต่างกับการทัศนาจรอย่างไร และมีวิธีทัศนศึกษาอย่างไร

ตอบ การศึกษานอกสถานที่ หมายถึง กิจกรรมที่พาผู้เรียนออกไปหาประสบการณ์นอกห้องเรียน เพื่อให้เกิดการเรียนที่สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การไปทัศนศึกษาต่างจากการทัศนาจรโดยทั่วไปตรงที่การทัศนาจรมุ่งความสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นสำคัญ ส่วนการศึกษานอกสถานที่เน้นการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียน ซึ่งต้องอาศัยการวางแผนและการดำเนินการอย่างมีขั้นตอนเป็นสำคัญ

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม